การศึกษาของประเทศไทย

สาเหตุที่ทำให้คุณภาพการศึกษาของประเทศไทยนั้นตกอันดับ

จากการจัดอันดับการแข่งขันทางการศึกษาของเวิลด์อีโคโนมิก ฟอรัม ปีล่าสุดพบว่า คุณภาพการศึกษาของประเทศไทยนั้นตกอันดับลงเป็นอย่างมาก โดยเป็นอันดับ 8 ของกลุ่มประเทศอาเซียนรองจากเวียดนามและกัมพูชาด้วยซ้ำ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่น่าตกใจเป็นอย่างมาก และสาเหตุของการศึกษาไทยที่ทำให้ล้าหลังลงเรื่อย ๆได้ดังนี้

1. ท่องจำแต่ไม่นำไปใช้

วัฒนธรรมการศึกษาของไทยที่มีมาแต่ดั้งเดิมคือ การเรียนแบบท่องเพื่อให้จดจำเนื้อหาแล้วนำมาสอบให้ผ่าน ไม่ได้เรียนแบบวิเคราะห์และประยุกต์ให้แก้ปัญหาจริง ทำให้ผู้เรียนเน้นเรียนแบบจำได้เพียงหลักการ ตัวหนังสือ แต่เมื่อเกิดปัญหาจริงนั้นไม่สามารถแก้ไขได้เลย ดังคำกล่าวที่ว่า “ ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด ” อีกทั้งการเรียนเหล่านี้จะยึดหลักครูผู้สอนเป็นศูนย์กลาง ต้องฟังคำสั่งและปฏิบัติตามครูและหลักการเท่านั้น หากนอกเหนือจากนั้นถือว่าผิด ทำให้เด็กไทยขาดความมั่นใจในตนเองเพราะต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์และกรอบข้อบังคับมาตลอด ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ทั้งทางด้านการศึกษาและการดำเนินชีวิต

2. ครูไทยทำผลงานเอาหน้า

ตามกฎหมายการศึกษาของไทยในยุคปัจจุบัน ได้มีการกำหนดให้มีการวัดผลประเมินผลจากผลงานเพื่อเลื่อนขั้นวิทยฐานะของครูผู้สอน วัตถุประสงค์นั้นก็เพื่อต้องการให้ครูพัฒนาตนเอง พัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษาให้กับเด็กนักเรียน แต่ในความเป็นจริงอาจพบได้ว่า ครูนั้นมุ่งมั่นแต่จะทำผลงานเพื่อให้ตนได้เลื่อนขั้นวิทยฐานะ เพราะนั่นหมายถึงเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นตามมา ผลงานที่สร้างขึ้นเป็นเพียงการสร้างภาพไม่ได้ถูกนำใช้กับเด็กนักเรียนอย่างแท้จริง นวัตกรรมที่สร้างขึ้นอย่างสวยงามนั้นบางครั้งเด็กนักเรียนไม่เคยเห็นด้วยซ้ำไป เป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงการมีอุดมการณ์ที่ลดลงของครูไทย

การศึกษาของประเทศไทย

3. ขาดการเท่าเทียมทางการศึกษา

ถึงแม้กฎหมายจะกำหนดให้เด็กไทยมีการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปีโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและเท่าเทียมกัน แต่ในความเป็นจริงที่เราเห็นกันโดยทั่วไปนั้น เด็กที่มีฐานะทางบ้านดีก็จะได้รับโอกาสที่ดีกว่าเด็กที่ฐานะยากจน เพราะปัจจุบันมีสถาบันการศึกษาเอกชนหลายแห่งที่เราปฏิเสธไม่ได้ว่ามีหลักสูตรการศึกษาที่ดีและหลากหลายมากกว่าของรัฐบาล ตรงจุดนี้จึงควรเป็นข้อปรับปรุงของการศึกษาไทยว่าจะทำอย่างไรให้เด็กนักเรียนไทยได้รับความรู้อย่างเต็มที่ และเท่าเทียมกันอย่างแท้จริง

4. วัดคุณค่าความรู้ที่คะแนน

การวัดผลประเมินผลของไทยนั้น ล้วนแล้วแต่วัดความรู้จากการสอบทั้งสิ้น ทั้งการสอบในโรงเรียน การสอบเข้าทำงาน หรือการสอบวัดผลในหน่วยงานราชการต่าง ๆ โดยไม่ได้วัดจากการปฏิบัติว่าทำได้ดีหรือไม่ อย่างไร จึงกลายเป็นว่า ผู้ที่ท่องจำได้มากที่สุด ทำข้อสอบได้มากที่สุด ย่อมเป็นผู้ที่มีคุณค่าและมีความรู้ เหมาะสมกับการได้รับการคัดเลือกที่สุด ทั้งที่แท้จริงแล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่ ยกตัวอย่างเช่น การสอบใบขับขี่ กำหนดให้สอบปรนัยต้องได้เท่านั้นเท่านี้ข้อจึงจะผ่านไปสอบภาคปฏิบัติได้ หลายคนที่ขับรถเก่งแต่ไม่สามารถสอบผ่านข้อสอบปรนัยก็มี เป็นผลเนื่องมาจากความจำไม่ดี เป็นต้น ดังนั้น ตราบใดที่วัฒนธรรมคนเก่งคือคนสอบได้คะแนนมากยังไม่หมดไป ประเทศไทยก็จะขับเคลื่อนพัฒนาได้ช้าขึ้นเท่านั้น

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ kytire.com

UFA Slot

Releated