ไข้ซิกา

ศูนย์วิจัยฯ มม.คิดค้นวัคซีนป้องกัน ไข้ซิกา สายพันธุ์เอเชีย-แอฟริกา

ศ.นพ.นรัตถพล เจริญพันธุ์ ผู้อำนวยการสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) ได้เปิดเผยว่า ไข้ซิกา (Zika Fever) เป็นหนึ่งในโรคติดเชื้อจากยุงลาย ซึ่งเคยระบาดครั้งแรกของ “ไข้ซิกาสายพันธุ์เอเชีย” ในไทยเมื่อปี 2559

ถึงแม้จะยังไม่มียาป้องกันในปัจจุบัน ไข้ซิกา ที่พบในโลก นอกจากสายพันธุ์เอเชียซึ่งมักพบในประเทศในกลุ่มลาตินอเมริกา และประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว ยังมีที่มักพบในประเทศในแถบทวีปแอฟริกา ด้วยประสบการณ์เชี่ยวชาญด้านการคิดค้นและพัฒนาวัคซีนกว่า 4 ทศวรรษ ทำให้ศูนย์วิจัยและพัฒนาวัคซีน สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มม.ได้ต่อยอดขยายผล จนสามารถคิดค้น และพัฒนาวัคซีนป้องกันไข้ซิกา ที่สามารถป้องกันได้ทั้งสายพันธุ์เอเชีย และสายพันธุ์แอฟริกา ในหลอดทดลองสำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก

“ในเชิงนโยบายต่อไป อาจมีการผลักดันให้เป็นวัคซีนพื้นฐานสำหรับประชาชนฉีดป้องกันตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์ ตลอดจนฉีดในเด็กหญิงวัย 10-12 ปี โดยอาจแบ่งเป็น 2 เข็ม เข็มแรกฉีดเพื่อสร้างภูมิต้านทาน และเข็มที่ 2 ฉีดเพื่อกระตุ้นในอีก 4 สัปดาห์ต่อมา โดยจะเป็นการลงทุนทางสุขภาพที่คุ้มค่าเป็นอย่างมาก เนื่องจากประสิทธิภาพของวัคซีนป้องกันไข้ซิกาสายพันธุ์เอเชีย ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาวัคซีนคิดค้น และพัฒนาขึ้นมานี้ หากฉีดครั้งแรกตั้งแต่อายุยังน้อย อาจมีภูมิต้านทานโรคไปได้นานหลายสิบปี ซึ่งไวรัสไข้ซิกา นอกจากติดต่อจากแม่สู่ลูกแล้ว ยังติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์ วัคซีนป้องกันไข้ซิกาจึงจำเป็นสำหรับทุกคนทั้งหญิง และชาย” ศ.นพ.นรัตถพล กล่าว

ไข้ซิกา

 

ดร.ณรงค์ นิทัศน์พัฒนา นักเทคนิคการแพทย์ (ผู้เชี่ยวชาญ) ศูนย์วิจัยและพัฒนาวัคซีนฯ หัวหน้าทีมคิดค้นและพัฒนา “วัคซีนป้องกันไข้ซิกาสายพันธุ์เอเชีย” กล่าวว่า

วัคซีนที่คิดค้น และพัฒนาขึ้น ได้ผ่านการทดสอบทางห้องปฏิบัติการในสัตว์ทดลองแล้ว ซึ่งพบว่ามีความปลอดภัยสูง เนื่องจากเป็นวัคซีนเชื้อตายที่ผลิตภายใต้หลักการขององค์การอนามัยโลก โดยเป็นการนำเชื้อไวรัสมาทำให้ตาย แล้วผ่านกระบวนการทำให้ปลอดภัยจากสิ่งเจือปนไม่พึงประสงค์ ก่อนฉีดเข้าไปในสัตว์ทดลอง

ในอนาคตอาจมีโรคอุบัติใหม่เกิดขึ้นอีกมากมาย การพัฒนาวัคซีนด้วยเทคโนโลยีเดียวกันนี้ให้สามารถใช้ป้องกันได้หลายโรคในเข็มเดียว

จึงอาจเป็นทางเลือกที่ดีและมีประสิทธิภาพ ซึ่งในส่วนของ ไข้ซิกา เกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูลฟลาวิไวรัส (Flavivirus) ดังนั้น ในอนาคตอาจพัฒนาให้ใช้ป้องกันไวรัสหลายชนิดในเข็มเดียวกัน นั่นคือป้องกันร่วมกับโรคที่เกิดจากไวรัสในตระกูลเดียวกันได้ เช่น ไข้สมองอักเสบเจอี (Japanese encephalitis : JE) และไวรัสเวสท์ไนล์ (West Nile virus : WNV)

“การผลิตวัคซีนด้วยโรงงานที่ได้มาตรฐาน GMP จนใช้ได้อย่างแพร่หลาย อาจต้องลงทุนงบประมาณเริ่มต้นหลายร้อยล้านบาท โดยก่อนอื่นจะต้องผลิตในโรงงานกึ่งอุตสาหกรรม แล้วทดสอบความปลอดภัยระยะที่ 1 ในกลุ่มเล็ก ก่อนขยายสู่ระยะที่ 2 ในกลุ่มขนาดกลาง และเมื่อพบว่าวัคซีนมีความปลอดภัย จะเข้าสู่กระบวนการผลิตในระดับอุตสาหกรรมที่ได้มาตรฐาน GMP ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาไม่น้อยกว่า 4 ปี จากนั้นจะเข้าสู่การทดสอบระยะที่ 3 ในกลุ่มเป้าหมายขนาดใหญ่ต่อไป โดยหากพบว่าวัคซีนสามารถป้องกันโรคไข้ซิกาได้ดี ก็จะได้มีการที่จะนำวัคซีนไปฉีดให้แก่ประชาชนทั่วไป” ดร.ณรงค์ กล่าว

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ kytire.com

แทงบอล

 

Releated